เดินวันละ 30 นาที ช่วยให้ความจำดีขึ้น

 



เดินวันละ 30 นาที   ช่วยให้ความจำดีขึ้น

 จากงานวิจัยฉบับหนึ่ง ได้บอกไว้ว่า การที่เราเดินอย่างต่อเนื่อง วันละ 20 - 30 นาที หลังเลิกงานหรือระหว่างทำงานก็ดี  จะช่วยให้สมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus)  ซึ่งมีผลต่อความทรงจำระยะยาวจนถึงเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์และเกี่ยวข้องกับ EQ มีขนาดใหญ่ขึ้น


โดยเขาได้วิจัยด้วยการทำ MRI  สมองส่วนนี้  เทียบกลุ่มทดลองพบว่า  สมองของกลุ่มทดลองที่เดินวันละ  30 - 60 นาที  ติดต่อกัน 6 เดือน  มีขนาดสมองฮิปโปแคมปัสใหญ่ขึ้นกว่าอีกกลุ่มที่ได้เดิน  อย่างมีนัยสำคัญ


ถ้าเราเดินได้วันละ 30 - 60 นาที  จะทำให้เรามีความจำระยะยาวดีขึ้น  เวลาที่เราทำงานก็จะจำเรื่องงานดีขึ้นถ้าเป็นนักเรียนก็เรียนหนังสือเก่งขึ้น  


มีงานวิจัยในเด็กกลุ่มทดลอง  โดยกลุ่มที่ 1 ให้อ่านหนังสือปกติ  และให้คิดว่า "ฉันต้องสอบให้ได้เกรด A"

กลุ่มที 2 ให้เพิ่มกิจกรรมการเดินและแอโรบิก  ซึ่งเด็กทั้งสองกลุ่มนี้คัดมาแล้วว่ามี IQ พอๆกัน  ปรากกฎว่าผลการเรียนของเด็กกลุ่มที่ 2 ดีกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างชัดเจน


ข้อดีของการเดินแค่วันละ 30 นาที นี้มีประโยชน์มากเลยนะคะ  แอดมินอยากชวนพวกเรามาเริ่มขยับตัว ลองเดินกันออกกำลังกายกันนะคะ  ได้ทั้งสุขภาพ และได้ทั้งการพัฒนาสมองด้วย 😄😄


Cr.ข้อมูลดีๆจากนิตยสารชีวจิต

=========================================
▼ ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่นี่
=========================================

13 Steps ส่งเสริมพัฒนาการช่วยให้เด็กเคลื่อนไหวได้สมวัย

 


        

        จากคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี สำหรับผู้ปกครอง โดยสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรางสาธารณสุข ได้ระบุถึงแนวทางส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ในหัวข้อ "การเคลื่อนไหว" เพื่อให้คุณพ่อ คุณแม่ มือใหม่ทั้งหลาย ได้ทราบถึงวิธีส่งเสริมพัฒนการเด็กและช่วยฝึกฝนให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆมีความแข็งแรงตามวัย  โดยเรียงลำดับตามช่วงอายุต่างๆ ดังนี้

- 1 - 2 เดือน ฝึกเด็กในท่านอนคว่ำ  ในอายุ 1 เดือนแรก เด็กต้องสามารถยกศีรษะและหันศีรษะไปมาได้โดยใช้ของเล่นเด็กที่มีเสียงกรุ๊งกริ๊งเขย่าเพื่อให้เด็กยกศีรษะแหละหันหน้ามามองตามเสียง  เมื่ออายุครบ 2 เดือน  การฝึกในท่านอนคว่า  เด็กต้องยกศีระตั้งขึ้นได้ 4 - 5 องศานาน 3 วินาที  ใช้อุปกรณ์เป็นของเล่นที่มีเสียงกรุ๊งกริ๊งเขย่าเพื่อให้เด็กยกศีรษะขึ้นตามองศาที่ระบุ


- 3 - 4 เดือน ฝึกในท่านอนหงาย  เด็กต้องสามารถยกแขน 2 ข้างขึ้นมาเล่น  เหยียดแขนออกห่างจากลำตัวได้  โดยจัดเด็กให้นอนหงาย  แขวนโมบายหรือเขย่าของเล่นกรุ๊งกริ๊งให้เด็กได้ยินแล้วยื่นมือขึ้นมาหา


- 5- 6 เดือน ฝึกยันตัวขึ้นนั่ง  เด็กต้องสามารถยันตัวจากท่านอนคว่ำมาเป็นท่านั่งโดยใช้แขนที่เหยียดตรงทั้ง 2 ข้างยันตัวขึ้นมา  จัดให้เด็กนอนคว่ำ แล้วเรียกชื่อเด็กพร้อมกับใช้ของเล่นกรุ๊งกริ๊งเขย่าเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและยันตัวขึ้นมามอง


- 7 - 9 เดือน ฝึกให้เด็กเอี้ยวตัวใช้มือเล่นได้อย่างอิรสระในท่านั่ง  จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่ง วางลูกบอลที่มีเสียงเยื้องไปด้านหลังในระยะที่เด็กเอื้อมถึง จากนั้นเรียกชื่อเด็กพร้อมเขย่าลูกบอลให้เด็กสนใจและเอี้ยวตัวไปหยิบลูกบอลให้ได้ ทำสลับข้างซ้ายและขวา 2 - 3 ครึ้ง


- 10 - 12 เดือน ฝึกให้เด็กลดตัวลงจากท่ายืนได้โดยใช้มือเกาะเก้าอี้พยุงตัว  จัดให้เด็กอยู่ในท่ายืนเกาะเก้าอี้ หยิบของเล่นกรุ๊งกริ๊งขึ้นมาเขย่าและชูของเล่นให้อยู่ระดับสายตาเด็ก จากนั้นเรียกชื่อเด็กและชวนให้มาเล่นของเล่นที่พื้น


- 1 ปี - 1 ปีครึ่ง ฝึกให้เด็กเดินลากของเล่นได้  ผู้ปกครองจูงมือเด็กออกเดินไปช้าๆ และมีอุปกรณ์เป็นรถของเล่นให้เด็กจับปลายเชือกรถของเล่นแล้วลากตามไป


- 1 ปีครึ่ง - 2 ปี ฝึกให้เด็กกระโดดขึ้นลงบันได  โดยมีผู้ปกครองช่วยรับและพยุงตัวไว้


- 2 ปี - 2 ปีครึ่ง ฝึกให้เด็กกระโดดให้เท้าพ้นจากพื้นทั้ง 2 ข้าง  โดยผู้ปกครองทำท่ากระโดดให้เด็กดูก่อน จากนั้นจับมือทั้งสองข้างของเด็กไว้แล้วค่อยกระโดดพร้อมกัน  ขณะที่ฝึกสามารถเปิดเพลงประกอบได้


- 2 ปีครึ่ง - 3 ปี ฝึกให้เด็กขึ้นลงบันไดสลับเท้าด้วยตนเอง  โดยผู้ปกครองจับมือเด็กไว้ข้างหนึ่ง แล้วให้เด็กใช้มืออีกข้างเกาะราวบันได จากนั้นจูงเด็กให้ค่อยๆ ขึ้นลงบันไดช้าๆ เมื่อเด็กเดินขึ้นลงและทรงตัวได้ดีขึ้นก็ไม่ต้องจับมือเด็ก แต่ให้เดินตามหลังไป คอยระมัดระวังความปลอดภัยให้แทน


- 3 ปี - 3 ปี 7 เดือน  ฝึกให้เด็กยืนทรงตัวบนขาข้างเดียวโดยไม่มีที่เกาะนาน 3 วินาที  โดยผู้ปกครองแบะเด็กหันหน้าเข้าหากัน  จับมือเด็ก 2 ข้างไว้  จากนั้นทำท่ายืนทรงตัวด้วยขาข้างเดียวให้เด็กดูก่อน แล้วค่อยบอกให้เด็กทำตาม  เมื่อเด็กทำได้ก็ค่อยๆ ปล่อยมือทั้ง 2 ข้าง ให้เด็กค้างท่าไว้  นับ 1-3 เสร็จแล้วเริ่มใหม่  แต่ทำสลับขาอีกข้าง  เมื่อทำครบ 2 ข้าง ให้นับเป็น 1 เซต ทำอย่างน้อย 2 - 3 เซต  และขณะที่ฝึกสามารถเปิดเพลงประกอบได้


- 3 ปี 7 เดือน - 4 ปี ฝึกให้เด็กวิ่งไปข้างหน้าดดยลงน้ำหนักที่ปลายเท้าและแกว่งแขนสลับกัน  โดยผู้ปกครองยืนเขย่งปลายเท้าและวิ่งด้วยปลายเท้าให้เด็กดู  จากนั้นจับมือเด็กข้างหนึ่งแล้วค่อยๆ ออกวิ่งเหยาะๆ  ไปด้วยกัน  เมือเด็กทรงตัวดีขึ้นแล้ว  ให้เด็กวิ่งโดยอิสระด้วยตัวเอง


- 4 ปี - 4 ปีครึ่ง ฝึกให้เด็กกระโดดไปด้านข้างและถอยหลังได้  โดยผู้ปกครองกระโดดไปทางซ้าย - ขวาและเดินถอยหลังให้เด็กดู  จากนั้นลองให้เด็กทำตาม  สามารถใช้สติกเกอร์รูปการ์ตูนมาแปะไว้  แล้วให้เด็กกระโดดไปตามรูปการ์ตูนที่ผุ้ปกครองบอก


- 4 ปีครึ่ง - 5 ปี  ฝึกให้เด็กสามารถวิ่งเตะลูกบอกได้  โดยผู้ปกครองวางลูกบอลไว้ให้ห่างตัวสัก 4 - 5 ก้าว  จากนั้นวิ่งเข้าไปเตะบอลให้ดู  ทำต่อเนื่อง 5 ครั้ง จากนั้นให้เด็กทำตาม


=============================================
▼ ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่นี่
=============================================

สูตร Mizu Yokan วุ้นถั่วแดงสอดไส้เกาลัด ขนมสไตล์ญี่ปุ่น

 


สูตร Mizu Yokan วุ้นถั่วแดงสอดไส้เกาลัด ขนมสไตล์ญี่ปุ่น


📌ส่วนผสม (สำหรับ 2-4 ที่)

- เนื้อถั่วแดงกวน  400 กร้ม

- น้ำเปล่า  1 1/2 ถ้วย

- ผงวุ้นอะการ์ - อะการ์  3  ช้อนชา

- เกลือ   1/8 ช้อนชา

- เกาลัดในน้ำเชื่อม  12-15  เม็ด 


👉👉 วิธีทำ

1. ละลายผงวุ้นกับน้ำร้อนเล็กน้อย คนให้วุ้นละลาย เตรียมไว้

2. ใส่ถั่วแดงกวนกับน้ำเปล่าลงในหม้อ  ตั้งไฟอ่อน คนให้เข้ากันแล้วใส่วุ้นที่เตรียมไว้ ใส่เกลือ คนจนวุ้นละลาย

3. เทวุ้นถั่วแดงลงในถาดสี่เหลี่ยมขนาด 8 นิ้ว ประมาณ 1/4 ของพิมพ์  พักไว้ประมาณ 10 นาที ให้วุ้นเร่ิมเซ็ตตัว  วางเกาลัดให้ทั่ว  แล้วเทวุ้นถั่วแดงที่เหลือให้ท่วมเกาลัด

4. พักวุ้นในอุณหภูมห้องประมาณ 30 นาที  จนแข็งตัวดี นำออกจากพิมพ์  ตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ วางบนจานให้สวยงาม

ชุ่มคอ สดชื่น ด้วย น้ำบ๊วยเลมอนชะเอมโซดา



 ชุ่มคอ สดชื่น ด้วย น้ำบ๊วยเลมอนชะเอมโซดา
Plum Lemon And Liquorice Soda

เครื่องดืมที่ทำได้ง่ายๆที่บ้าน  สำหรับคลายร้อน แถมยังชุ่มคอ สดชื่น มีรสเปรี้ยวอมหวานนิดๆ เหมาะสำหรับชาว WFH  ได้ทั้งความสดชื่น และความรวดเร็วในการทำ จากส่วนผสมของชะเอม จะทำให้เครื่องดื่มมีรสชาติเปรี้ยวหวาน ดื่มแล้วรู้สึกชุ่มในคอ แถมยังได้กลิ่นหอมอ่อนๆ จากชะเอมอีกด้วย


ส่วนผสม (สำหรับ 2 ที่)

- น้ำจิ้มบ๊วยเจี่ย 1/3 ถ้วย

- น้ำเลมอน 1/3 ถ้วย

- ชะเอม 2-3 ชิ้น

- น้ำเปล่า 1 ถ้วย 

- โซดา /ผิวเลมอนสำหรับตกแต่ง / น้ำแข็ง


วิธีทำ

1.ต้มน้ำเปล่ากับชะเอมสักครู่จนได้กลิ่นหอมและออกรส ใส่น้ำจิ้มบ๊วย  ปิดไฟ 

2.คนให้ละลาย ใส่น้ำเลมอม พักไว้

3.ใส่น้ำแข็งลงในแก้ว ใส่น้ำบ๊วยที่ต้มไว้ 1/3 ของแก้ว 

4.เติมโซดาให้เต็มแก้ว ตกแต่งด้วยผิวเลมอน


=============================================
▼ ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่นี่
=============================================
#น้ำบ๊วย #น้ำบ๊วยเลมอน #น้ำบ๊วยโซดา
Cr. สูตรน้ำจากนิตยสาร Gourmet & Cuisine